นายก รับ 8 ข้อเรียกร้อง เปิดวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2565

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2565  ณ กระทรวงแรงงาน โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  นายสุชาติ ไทยล้วน ประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2565  และผู้บริหารระดับสูงข้าราชการกระทรวงแรงงาน ผู้นำแรงงาน และพี่น้องผู้ใช้แรงงานให้การต้อนรับ  

          ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้รับข้อเรียกร้องวันแรงงานทั้ง 8 ข้อ ย้ำ รัฐบาลมุ่งยกระดับศักยภาพกำลังแรงงานและส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานในทุกมิติ

          นายสุชาติ ชมกลิ่น กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ในปี 2565 ทั้ง 8 ข้อ ว่ากระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญกับข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะจากพี่น้องแรงงาน  กระทรวงฯ ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีการหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและได้ประสานแจ้งให้คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติทราบถึงความคืบหน้าแล้ว  ซึ่งการดำเนินการของกระทรวงแรงงาน มีดังนี้

          1. การรับรองอนุสัญญาไอแอลโอ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับแล้ว ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 62 และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. …. คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 63 เมื่อมีผลบังคับใช้แล้วจะนำเสนอให้รัฐบาลให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาดังกล่าวได้

          2. การแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ดำเนินการจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะทำงานซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมาศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน

          3. การให้สถานประกอบกิจการ ที่มีลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้จัดทำแนวปฏิบัติของพนักงานตรวจแรงงาน กำชับเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามมาตรา 11/1 อย่างเคร่งครัด และชี้แจงนายจ้างให้ปฏิบัติต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้ถูกต้องตามกฎหมาย

          4. ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลขยายวงเงินเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับก้อนสุดท้ายนั้น กระทรวงแรงงานได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง พิจารณาแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยและงดจ่ายภาษีกรณีเงินออกจากงาน และขยายวงเงินเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ หากมีการแก้ไขจะมีผลบังคับใช้ทั้งลูกจ้างภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจโดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          5. การปฏิรูปการประกันสังคมในส่วนของการขยายอายุผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อให้สอดรับกับสังคมผู้สูงอายุจากเดิมไม่เกิน 60 ปี เป็นไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมไว้ในร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ…. ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่ระหว่างเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ

          6. การเร่งรัดออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. …. เพื่อให้แรงงานนอกระบบสามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐานในการประกอบอาชีพมีความปลอดภัยในการทำงาน มีหลักประกันทางสังคม มีการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กร ได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 64 และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

อ่านเพิ่มเติมคลิกที่นี่ : นายกรับ 8 ข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี 2565

แชร์บทความ

Leave a Comment

Scroll to Top